วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดาวอังคาร


ดาวอังคาร

       เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) ชื่อจีน เป็น 火星 ความหมายว่าดาวไฟเพาระสีส้มของมัน สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอสโดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน

        ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส(Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพ์ลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือคาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล

ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าความส่องสว่างปรากฏอยู่ที่ 3.0 มีเพียงแค่ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ที่สว่างกว่า

ลักษณะทางกายภาพ

โดยภาพรวมนั้นดาวอังคารมีขนาดที่เล็กกว่าโลก คือมีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับรัศมีของโลกและมีน้ำหนักเทียบได้กับ 11% ของโลก ปริมาตร 15% ของโลก พื้นที่ผิวทั้งหมดของดาวอังคารยังน้อยว่าพื้นที่ที่เป็นพื้นดินของโลกเสียอีก[5] ส่วนสีของดาวที่เห็นเป็นสีส้ม-แดงนั้น เกิดจาก ไอร์ออน(II) ออกไซด์ ซึ่งเป็นที่รู้กันคือ แร่เหล็ก หรือสนิมเหล็กนั่นเอง

ดาวบริวาร

บริวารของดาวอังคาร มีอยู่ 2 ดวงเป็นดาวขนาดเล็ก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าคงเป็นสะเก็ดดาวเคราะห์น้อย ที่ถูกสนามแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารจับไว้



Mars Valles Marineris.jpeg
ภาพของดาวอังคารจากยานไวกิง 1 ออร์บิเตอร์
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
ลักษณะของวงโคจร
จุดเริ่มยุค J2000
ระยะจุด
ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด:
249,228,730 กม.
1.665 991 16 หน่วยดาราศาสตร์
ระยะจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด:
206,644,545 กม.
1.381 333 46 หน่วยดาราศาสตร์
กึ่งแกนเอก:227,936,637 กม.
1.523 662 31 หน่วยดาราศาสตร์
เส้นรอบวง
ของวงโคจร:
1.429 เทระเมตร
9.553 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.09341233
คาบดาราคติ:686.9601 วัน
(1.8808 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก:779.96 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร:
24.077 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร:
26.499 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร:
21.972 กม./วินาที
ความเอียง:1.85061°
(5.65°; กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น:
49.57854°
ระยะมุมจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด:
286.46230°
ดาวบริวารของ:ดวงอาทิตย์
จำนวนดาวบริวาร:2
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
6,804.9 กม.
(0.533×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว:
6,754.8 กม.
(0.531×โลก)
ความแป้น:0.00736
พื้นที่ผิว:1.448×108 กม.²
(0.284×โลก)
ปริมาตร:1.638×1011 กม.³
(0.151×โลก)
มวล:6.4185×1023 กก.
(0.107×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย:3.934 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
3.69 เมตร/วินาที²
(0.376จี)
ความเร็วหลุดพ้น:5.027 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง:
1.025957 วัน
(24.622962 ชม.)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง:
868.22 กม./ชม.
ความเอียงของแกน:25.19°
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ:
317.68143°
(21 ชม. 10 นาที 44 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ:
52.88650°
อัตราส่วนสะท้อน:0.15
อุณหภูมิพื้นผิว:
   เคลวิน
   เซลเซียส
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
186 K227 K268 K
−87 °C−46 °C−5 °C
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
0.7-0.9 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ:95.32% คาร์บอนไดออกไซด์
2.7% ไนโตรเจน
1.6% อาร์กอน
0.13% ออกซิเจน
0.07% คาร์บอนมอนอกไซด์
0.03% ไอน้ำ
0.01% ไนตริกออกไซด์
2.5 ppm นีออน
300 ppb คริปตอน
80 ppb ซีนอน
30 ppb โอโซน
10.5 ppb มีเทน
ดาวอังคาร